วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ขวด ขวด ขวด ขยะร้ายทำลายโลก

ในปัจจุบันจำนวนประชากรของโลกได้เพิ่มมากกว่าเดิมขึ้นหลายเท่าตัว ขณะนี้ตัวเลขแตะที่ 70,000 ล้านคน เมื่อมีจำนวนประชากรมากก็ย่อมต้องการที่จะใช้ทรัพยากรมาก ทำให้เกิดการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ และเกิดปัญหาขยะตามมา ขยะที่สำคัญเป็นตัวการของปัญหาคือ พลาสติก เป็นสิ่งที่ย่อยสลายได้ยาก และทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย     
                 ในชีวิตประจำวันของเรานั้นเกี่ยวข้องกับพลาสติกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชีวิตประจำวันของเรานั้นมีความจำเป็นต้องบริโภคน้ำ เพราะน้ำเป็นองค์ประกอบหลักของร่างกายกว่า 80% เป็นสาเหตุของการเกิดการใช้ขวดพลาสติกจำนวนมาก

                จากสถิติ ปริมาณการใช้ขวดพลาสติกในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2550 พบว่ามีการใช้ขวด PE (ขาวขุ่น) ปีละประมาณ 2,880 ล้านใบ ขวด PET (ขวดใส) ปีละประมาณ 975 ล้านใบ รวมแล้วคนไทยใช้ขวดพลาสติกเหล่านี้ถึงปีละ 3,855 ล้านใบ ซึ่งปริมาณที่ใช้เพิ่มขึ้นราวๆ 1,300 ล้านใบ นับจากปี พ.ศ. 2544(ที่มา : คำนวณจากมูลค่าตลาดน้ำดื่มจากนิตยสาร Brand Age เดือนสิงหาคม 2544 และนิตยสาร Positioning เดือนพฤษภาคม 2550) ซึ่งคาดว่าในอนาคตจำนวนตัวเลขของการใช้ขวดพลาสติกอาจจะพุ่งสูงเป็นเท่าตัว

                เราจึงอดที่จะตั้งคำถามไม่ได้ว่า แล้วขวดน้ำพลาสติกที่เราดื่มกันอยู่ทุกวันนี้ ปลายทางของมันจะไปอยู่ที่ไหน?  ในเมื่ออัตราการย่อยสลายของขวดพลาสติกใช้เวลานานกว่า 450 ปีต่อ 1ใบ ลองคิดดูสิว่า ใน1 วัน ขวดพลาสติกจะถูกผลิตขึ้นกี่ใบ ถ้าหากถูกทิ้งให้เป็นขยะหรือกำจัดโดยวิธีที่ไม่ถูกต้อง ความร้ายกาจของมันจะมากขนาดไหน

ขอบเขตพื้นที่การศึกษา

พื้นที่บริเวณรอบมหาวิทยาลัยบูรพา ตำบลแสนสุข จังหวัดชลบุรี

ประเด็นการศึกษา

- ประเภทของขวดพลาสติก

- ผลกระทบจากการใช้ขวดพลาสติก

- แนวทางการแก้ไข

 วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการใช้ขวดพลาสติก และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาจากขวดพลาสติก

 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

เพื่อทราบผลกระทบที่เกิดจากการใช้ขวดพลาสติก และแนวทางการแก้ไขปัญหาจากขวดพลาสติก

 วิธีการศึกษา


1.     ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของขวดพลาสติก

2.     ศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการใช้ขวดพลาสติก

3.     ลงสำรวจพื้นที่ศึกษาเพื่อทำการวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้ขวดพลาสติก

4.     เสนอแนวทางการแก้ไข

5.     สรุปผลการศึกษา
รู้หรือไม่ ขวดพลาสติกมีกี่ประเภท

                ขวดพลาสติกที่ใช้ในปัจจุบันมีทั้งหมด7ประเภทและแต่ละประเภทมีคุณสมบุติที่แตกต่างกันดังนี้

1.PET/PETP Polyethylene terephthalate

                เป็นโพลิเอสเตอร์เชิงเส้นตรงที่อิ่มตัวที่สำคัญที่สุดถูกใช้งานในรูปของเส้นใยสังเคราะห์เป็นส่วนใหญ่ ในรูปของขวดเพ็ท (โดยวิธีเป่ายืด = Stretch-Blow Moulding) ขวดเพ็ทนี้จะใสเหนียว ไม่แตกง่ายๆ ทนต่อความดันก๊าซได้สูง ทั้งยังผ่าน FDA (คณะ กรรมการอาหารและยา) เรียบร้อยแล้ว ใช้บรรจุน้ำอัดลม , บรรจุอาหาร , สุรา , ยา , เครื่องสำอาง

2.HDPE  High density polyethylene

                เป็น PE ที่มีความหนาแน่นตั้งแต่ .940 g/cm 3 ขึ้นไป ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เช่น ขวด, แผงบรรจุยา,ภาชนะบรรจุเครื่องสำอาง ฯลฯ

3.PVC หรือ Polyvinylchloride

                เป็นเทอร์โมพลาสติกที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวางมีคุณสมบัติที่สำคัญคือเมื่อติดไฟจะดับได้ด้วยตัวเอง
4. LDPE Low density polyethylene

                เป็น PE ที่มีความหนาแน่น .910-.925 g/cm3 ใช้ทำถุงเย็น, ถุงซิป, ฟิล์มด้านการเกษตรท่อน้ำหยด, เป็นฉนวนหุ้มสายไฟ และสายเคเบิ้ล, ของใช้ในบ้าน, ของเด็กเล่น, สายน้ำเกลือ, ขวดน้ำเกลือ ฯลฯ      

5.PP Polypropylene

                เป็นพลาสติกประเภทเทอร์โมพลาสติกที่เบาที่สุด มีสมบัติเชิงกลดีมาก เหนียว ทนต่อแรงดึง แรงกระแทกและทรงตัวดี มีจุดหลอมตัวที่ 165 C ไอน้ำและออกซิเจนซึมผ่านได้ต่ำ เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีมาก

6.กล่องโฟม หรือโพลีสไตรีน (Polystyrene)

7.พลาสติกที่ทำจากโพลีคาร์บอเนต หรือ Lexan  พบในขวด/กระติกน้ำพลาสติกยี่ห้อดัง ราคาแพงที่นำเข้ามา


รู้หรือไม่ ขวดพลาสติกมีพิษร้ายขนาดไหน

               
                ขวดพลาสติกเมื่อใช้แล้ว คงไม่ต้องสงสัยขวดพลาสติกเหล่านี้เมื่อใช้มักจะถูกทอดทิ้ง ตามบริเวณต่างๆ อาทิ เช่น ถังขยะ ใต้ต้นไม้ หรือแม้แต่ใน บริเวณชายหาดหรือแม่น้ำลำคลอง หรือสะดวกที่ไหนก็ทิ้งที่นั่น ตามแต่ความมักง่ายของแต่ละคน จนทำให้เกิดเป็นผลกระทบต่อมนุษย์ สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศต่างๆ ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีดังนี้

1.ทำให้เกิดขยะเป็นจำนวนมาก

2.ขบวนการผลิตและขบวนการทำลายขวดพลาสติกก่อให้เกิดก๊าซพิษ ที่ส่งผลต่อมนุษย์และส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้  เกิดภาวะโลกร้อน!!

3. พลาสติกไม่สามารถย่อยสลายไปได้เองตามธรรมชาติและใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายนาน

4.การทิ้งขวดพลาสติกไม่ถูกที่อาจส่งผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศนั้นๆ เช่น นก ปลา สัตว์ป่าต่างๆ

5. ในการทิ้งขวดพลาสติกไม่ถูกที่จะทำให้ภาพลักษณ์ในบริเวณนั้นไม่สวยงาม

การปรับตัวรับมือขยะจากขวดพลาสติก

                ในหลายๆประเทศจากทั่วโลกได้เริ่มตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากขวดพลาสติก และภัยต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น ประเทศบราซิล ที่ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากขวดพลาสติก ได้มีการนำขวดพลาสติกมารีไซเคิล เป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์อื่น นั่นก็คือ ไม้กวาด นอกจากจะช่วยลดขยะที่เกิดจากขวดแล้วยังเป็นการส่งเสริมเพื่อสร้างรายได้ รวมทั้งช่วยลดการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ในกระบวนการผลิตไม้กวาดแบบดั้งเดิม ในประเทศไทยเริ่มตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากขวดพลาสติก แต่ขบวนการในการแก้ปัญหานั้นยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ถึงแม้จะมีการรณรงค์ มีบรรจุภัณฑ์ที่สังเคราะห์จากธรรมชาติขึ้นมาทดแทน แต่ก็ไม่สามารถลดผลกระทบที่เกิดจากขวดพลาสติกได้ เพราะมันเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุและไม่มีการปลูกฝังในตัวบุคคล

ผลกระทบที่เกิดสามารถแก้ไขและรับมือได้คือ

1.นำขวดพลาสติกไปรีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยขบวนการผลิตนั้นต้องส่งผลเสียต่อโลกน้อยที่สุด อย่างเช่น การทำไม้กวาดในประเทศบราซิล หรือของตกแต่งต่างๆ จำพวก โมบาย กระถางต้นไม้ โคมไฟ เก้าอี้ ฯลฯ

2. การ Reuse หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ แทนที่จะทิ้งขวดพลาสติกไปหลังจากที่ใช้เสร็จ ก็นำควรกลับมาบรรจุน้ำดื่มตามแหล่งบริการน้ำดื่มต่างๆ ควรใช้ในระยะเวลาสั้นๆ เพราะหากใช้ในระเวลาที่นานไปอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย(หากไม่ใช้แล้วก็นำกลับไป รีไซเคิลตามข้อที่1 เพื่อเป็นการลดจำนวนขยะจากขวดพลาสติก)

3.ควรทิ้งขวดพลาสติกให้ถูกที่ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับสิ่งมีชีวิต อีกทั้งช่วยให้ง่ายต่อกระบวนการกำจัดขยะและเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่สวยงาม





   




จัดทำโดย
นางสาวสุมารินทร์  แท่นโพธิ์ 52020303
นายอธิภัทร  ผาติสุวัณณ  52020306
นางสาวกัญญา  บัวเผื่อนหอม  52021038
นายนันธ์วัฒน์  ธรรมสามิสร  52021062
นางสาวปริศนา  รุ่งแสง  52021070
คณะภูมิสาสนเทศศาสตร์  
มหาวิทยาลัยบูรพา